วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาอย่างยั่งยืน


การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การนำทรัพยากรในธรรมชาติมาประกอบอาชีพ
    แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้
   ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     - การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง
     - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง
 แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
    - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร
ธรรมชาติให้เหมาะสม
    - ภาครัฐควรวางมาตรการการประจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    - ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร
                   นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้ เพื่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็นแผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ

ความเป็นพลเมืองโลก


ลักษณะการเป็นพลโลก
คุณลักษณะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1. เคารพกฎหมายและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของสังคม

                เมื่อพลเมืองทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียง บประมาณในการป้องกันปราบปราม และจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ  นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคน
อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
2. เป็นผู้มีเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                ทุกคนย่อมมีอิสรภาพ เสรีภาพในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  ซึ่งการรู้จักการใช้เหตุผลในการดำเนินงาน จะทำให้ช่วยประสานความสัมพันธ์ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีงามต่อกัน
3. ยอมรับมติของเสียงส่วนใหญ่ 
                เมื่อมีความขัดแย้งกันในการดำเนินกิจกรรมอันเกิดจากความคิดเห็น ที่แตกต่างกัน  และจำเป็นต้องตัดสินปัญหาด้วยการใช้เสียงข้างมากเข้าช่วย และมติส่วนใหญ่ตกลงว่าอย่างไร  ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับความคิดของเรา เราก็ต้องปฏิบัติตาม เพราะเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่นั้น
4. เป็นผู้นำมีน้ำใจประชาธิปไตย  และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
                 ผู้ที่มีความเป็นประชาธิปไตยนั้น จะต้องมีความเสียสละ ในเรื่องที่จำเป็น เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
และรักษาไว้ซึ่งสังคมประชาธิปไตย  เป็นการส่งผลต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าขององค์กรซึ่งสุดท้าย แล้วผลประโยชน์ดังกล่าวก็ย้อนกลับมาสู่สมาชิกของสังคม   เช่นการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง  ถึงแม้ว่าเราจะมีอาชีพบางอย่าง
ที่มีรายได้ตลอดเวลา เช่นค้าขาย แต่ก็ยอมเสียเวลาค้าขายเพื่อไปลงสิทธิ์เลือกตั้ง บางครั้งเราต้องมีน้ำใจช่วยเหลือกิจกรรมส่วนร่วม  เช่น การสมัครเป็นกรรมการเลือกตั้ง หรือสมาคมบำเพ็ญประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น
5. เคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น                  ควรรู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นบุคคลมีเสรีภาพในกา รแสดงความคิดเห็น  การพูด แต่ต้องไม่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่ใส่ร้ายผู้อื่นให้เสียห าย
6. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม ชุมชน ประเทศชาติ                   ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมต้องมีการทำงานเป็นหมู่คณะ  จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในงานนั้นๆ ให้สมาชิกแต่ละคนนำไปปฏิบัติตามที่ได้รับหมอบหมายไว้อย่างเต็มท ี่
7. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง                 ในสังคมประชาธิปไตยนั้นสมาชิกทุกคนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเ มืองการปกครอง  เช่น การเลือกตั้ง เป็นต้น
8. มีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง                  ช่วยสอดส่องพฤติกรรมมั่วสุมของเยาวชนในสถานบันเทิงต่าง  ไม่หลงเชื่อข่าวลือคำกล่าวร้ายโจมตี
ไม่มองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเราเป็นศัตรู  รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ด้วยสันติวิธี  
9. มีคุณธรรม  จริยธรรม  และปฏิบัติตนตามหลักธรรม 
              ทุกคนควรมีศีลธรรมไว้เป็นหลักในการควบคุมพฤติกรรมของบุคลให้ดำเ นินไปอย่างเหมาะสม  ถึงแม้จะไม่มีบทลงโทษใดๆ ก็ตาม
                     การมีส่วนร่วมในการเมืองการปกครอง
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตย  ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้  ดังนี้
1. การใช้สิทธิในการเลือกตั้งระดับต่างๆ
                    เมื่ออายุครบ  18   ปีบริบูรณ์  ทุกคนต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา   และการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เช่น  การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร   การเลือกตั้งสมาชิกองค์กรส่วนท้องถิ่น  เป็นต้น  เพื่อเลือกตัวแทนไปทำหน้าที่บริหารประเทศ     หรือท้องถิ่นทั่วไป
2. การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
                     ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นประชาชนทุกคนล้วนมีส่วนร่วมมือ กันสอดส่องดูแลการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลหรือตรวจสอบการท ำงานของเจ้าหน้าที่ในองค์กรต่างๆ เพื่อไม่ให้อำนาจไปในทางที่         ไม่ถูกต้อง
3. การเป็นแกนนำปลุกจิตสำนึกให้แก่ผู้อื่นในการร่วมกิจกรรมทางการเ มืองการปกครอง
                    ได้แก่การใช้สิทธิเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจข องรัฐ  โดยการเป็นแกนนำนั้น สามารถปฏิบัติได้หลายอย่าง เช่น ประกาศโฆษณาประชาสัมพันธ์  การเข้าไปชี้แจงเป็นรายบุคคลการจัดให้มี               การประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่มีผลกระทบต่อสังคม